วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์
            ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือเรียกสั้นๆว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะพัฒณาขึ้นเพื่อสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ซึ่งไวรัสแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
            1.ไวรัสพาราสิต (parasitic virus) ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานและจำลองตัวเองเมื่อมีการเรียกใช้งานไฟล์ที่ติดไวรัส ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากจะเป็นประเภทนี้
            2.ไวรัสบูตเซกเตอร์ (boot sector virus) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปในบูตเซกเตอร์ แทนที่คำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน  ไวรัสประเภทจะโหลดตัวเองเข้าไปที่หน่วยความจำก่อนที่จะโหลดระบบปฏิบัติการ หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝังอยู่กับไฟล์อื่นๆด้วย
            3.ไวรัสสเตลท์ (stealth virus) ไวรัสประเภทนี้เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆ ตรวจไม่พบ และเมื่อไปติดกับโปรแกรมใดแล้วจะทำให้โปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
            4.ไวรัสโพลีมอร์ฟิก (polymorphic virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติดต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
            5.ไวรัสแมโคร (macro virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีผลกับ Macro Application (มักจะพบในโปรแกรมประเภท Word Processors) เมื่อผู้ใช้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วย จะทำให้ไวรัสไปฝังตัวอยู่ที่หน่วยความจำจนเต็ม ซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง และอาจส่งผลเสียกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้

            6.หนอนอินเทอร์เน็ต (worms) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่จะติดต่อกันได้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยไวรัสชนิดนี้จะคัดลอกตัวเองซ้ำแล้วใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพร่กระจายซึ่งโดยทั่วไปจะมากับอีเมล ตัวอย่างของหนอนอินเทอร์เน็ต คือ Adore โดยจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ Linux หลังจากนั้นจะสร้างช่องทางในคอมพิวเตอร์เพื่อให้แฮกเกอร์ (hacker) สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
          ที่มา หนังสือเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หน้าที่13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น